แบตเตอรี่ หัวใจขับเคลื่อน Green Logistics พร้อมขนส่งโลกสู่ความยั่งยืน

ภาคการขนส่งถือเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง จากรายงานขององค์กรพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency: IEA) พบว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคการขนส่งมาจากยานพาหนะทางบกถึง 74.5% ประกอบด้วยรถโดยสาร (รถยนต์ รถบัส) 45.1% และรถบรรทุกสินค้า 29.4%

ทั้งนี้ สภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ยังเผยว่า รถบรรทุกขนาดใหญ่และขนาดกลางปล่อยคาร์บอนเฉลี่ย 1,800 ล้านตันต่อปี ด้วยเหตุนี้ หลายประเทศจึงลงนาม ‘ข้อตกลงความร่วมมือด้านการปล่อยมลพิษของยานยนต์ขนาดกลางและขนาดใหญ่เป็นศูนย์’ (Global MOU on Zero-Emission Medium and Heavy-Duty Vehicles) เพื่อสนับสนุนการใช้รถบรรทุกและรถบัสไร้คาร์บอน 100% ภายในพ.ศ. 2583

ถึงแม้ประเทศไทยจะไม่ได้ร่วมในข้อตกลงดังกล่าว แต่ภาครัฐก็เล็งเห็นความสำคัญของเรื่องนี้ เนื่องจากภาคขนส่งของประเทศไทยปล่อยคาร์บอนมากถึง 30% ของจำนวนการปล่อยคาร์บอนทั้งหมด โดยการขนส่งทางบกถือว่าปล่อยคาร์บอนมากที่สุด คิดเป็น 87% เป้าหมายของการลดก๊าซเรือนกระจกในพ.ศ. 2564-2573 จึงควรมุ่งลดการปล่อยคาร์บอนสำหรับการขนส่งทางบกเป็นหลัก ด้วยการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า

‘แบตเตอรี่’ หัวใจสำคัญของยานยนต์ไฟฟ้า

แบตเตอรี่เป็นแหล่งพลังงานของอุปกรณ์หลายชนิด รวมถึงรถยนต์ไฟฟ้า โดยแบตเตอรี่ลิเเธียมนิกเกิลแมงกานีสโคบอลต์ออกไซด์ (Nickel-Manganese-Cobalt: NMC Battery) จัดเป็นแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่นิยมใช้กับรถบัสไฟฟ้าและรถบรรทุกไฟฟ้า

แบตเตอรี่ลิเธียมนิกเกิลแมงกานีสโคบอลต์ออกไซด์

แบตเตอรี่ชนิดนี้ใช้วัสดุแคโทดจากนิกเกิล แมงกานีส และโคบอลต์ จึงมีจุดเด่นในเรื่องของประสิทธิภาพการกักเก็บพลังงานได้ยาวนาน พร้อมมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุดและมีข้อดีดังนี้

1) สามารถกักเก็บพลังงานได้สูง จ่ายไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ น้ำหนักเบา จึงเหมาะสำหรับใช้งานกับยานพาหนะไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (commercial electric vehicle)

2) ใช้เวลาชาร์จไฟฟ้ารวดเร็ว เมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ประเภทอื่น

3) มีมาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูง ลดความเสี่ยงในการสะสมความร้อนและอันตรายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

E-Bus E-Truck ขนส่งยุคใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

การนำยานยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในระบบขนส่งสาธารณะ เช่น E-Bus และ E-Truck นับเป็นก้าวสำคัญในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่เพียงแค่ช่วยลดการปล่อยคาร์บอน แต่ยังช่วยพัฒนาสังคมได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย

1) ยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยอากาศบริสุทธิ์ E-Bus และ E-Truck เป็นยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานสะอาด ปราศจากมลพิษและไอเสีย จึงช่วยลดการปล่อยคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน รวมถึงฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่าง PM2.5

2) ลดค่าใช้จ่ายขององค์กร ยานพาหนะไฟฟ้าช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานในระยะยาว เนื่องจากมีค่าบำรุงรักษาต่ำกว่าเมื่อเทียบกับรถยนต์พลังงานเชื้อเพลิง นอกจากนี้ รัฐบาลไทยยังสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าของภาคเอกชน โดยมอบสิทธิ์ลดหย่อนภาษีถึง 2 เท่า (ตามเงื่อนไขที่กำหนด) เพื่อผลักดันให้ภาคธุรกิจลดการปล่อยคาร์บอน และร่วมกันเดินหน้าสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในพ.ศ. 2593

3) สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจและสังคม การนำรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในระบบของธุรกิจ แสดงถึงความมุ่งมั่นในการลดการปล่อยคาร์บอน ถือเป็นภาพลักษณ์ที่ดี ซึ่งสามารถดึงดูดพันธมิตรทางธุรกิจที่ต้องการลดการปล่อยคาร์บอนในห่วงโซ่อุปทาน (Scope 3)

ขับเคลื่อนทุกการเดินทางด้วยพลังงานสะอาด

ด้วยความมุ่งมั่นในการพาสังคมเดินหน้าสู่อนาคตไร้คาร์บอน บ้านปู เน็กซ์ สนับสนุนทุกการเดินทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เราพร้อมสร้างระบบนิเวศที่สนับสนุนการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสังคมสู่เป้าหมาย Net Zero โดยร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจหลายแห่ง

  • Durapower ผู้ออกแบบระบบกักเก็บพลังงานสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่เพื่ออุตสาหกรรมต่างๆ
  • SVOLT ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบนั่งส่วนบุคคล
  • Green Lion ผู้พัฒนาเทคโนโลยีการรีไซเคิลแบตเตอรี่
  • EVOLT ผู้ให้บริการสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าทั่วประเทศไทย

ที่สำคัญ บ้านปู เน็กซ์ร่วมมือกับ Durapower ส่งมอบแบตเตอรี่ลิเธียมนิกเกิลแมงกานีสโคบอลต์ออกไซด์สำหรับรถบัสไฟฟ้าให้กับเชิดชัยมอเตอร์เซลส์ ภายใต้บริษัทร่วมทุน ดีพี เน็กซ์ ความก้าวหน้าในครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการขับเคลื่อนตลาดรถบัสและรถบรรทุกไฟฟ้าในประเทศไทยสู่โลจิสติกส์สีเขียว

การใช้รถยนต์ไฟฟ้าสำหรับธุรกิจอย่าง E-Bus และ E-Truck จึงเป็นมากกว่าการพัฒนาธุรกิจขนส่ง เพราะเป็นการลงทุนเพื่ออนาคตที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นก้าวสำคัญในการสร้างสังคมอย่างยั่งยืนในทุกมิติอ้างอิง